. . . ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกของ---> นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร ค่ะ. . .

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันพุธที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

-รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
               1. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
               2. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
               3. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
               4. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
               5. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
              6.  รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง

-นำเสนอโทรทัศน์ครู เลขที่16-18
          เลขที่16    (ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากไม่ได้มาเรียน)
          เลขที่17    คุณครูนิตยา  กาชัย  การใช้การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า  จำนวนคู่/จำนวนคี่  
                             การบวกเลขแบบง่าย ใช้สื่อการสอนโดยโยนลูกเต๋า
          เลขที่ 18   (ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากไม่ได้มาเรียน)

-ทบทวนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-นำเสนอกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สาระตามมาตรฐาน
-รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ คือการนำหลายๆอย่างมารวมกัน  
                   หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์เป็นการเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆตามความสนใจ  
                                  ความสามารถ  สามารถนำไปใช้ความรู้  ทักษะ  เจตคติ  สร้างงาน  แก้ปัญหา 
                                  และใช้ในชีวิตประจำได้ด้วยตนเอง
- ความสำคัญ
                 1.    ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนรู้ศาสตร์สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้
                 2.         การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดชอบของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์ 
                  3.        การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาที่เรียนรู้
                  4.        การจัดประสบการณ์แบบบูรณาจะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้านของผู้เรียนช่วยสร้างความรู้  ทักษะ  และเจตคติ “แบบพหุปัญญา”
                  5.         การจัดประสบการณ์แบบบูรณาจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน Constractivis ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน
       - สาระที่ควรเรียนรู้= 1.ตัวเรา 2.บุคคลและสถานที่ 3.ธรรมชาติรอบตัว 4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
          ประสบการณ์สำคัญ = พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย/อารมณ์-จิตใจ/สังคม/สติปัญญา
       -จัดแบ่งกลุ่มในชั้นเรียนเพื่อนำเสนองานในหัวข้อรูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย


การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ  คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน


ภาพในการสอนคณิศาสตร์




        -ให้นำชื่อมาติด และบอกว่ามาเวลากี่โมง โดยวาดภาพนาฬิกา เพื่อนสอนเด็กในการดูเวลา


วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันพุธที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

     - ทบทวนความรู้เดิมของสัปดาห์ที่แล้ว เรื่อง “สาระและมาตรฐาน”

     - เทคนิคการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ นิทาน  เพลง  เกม  กิจวัตรประจำวัน  คำคล้องจอง  ปริศนาคำทาย  บทบาทสมมติ  แผนภาพ

     - นำเสนอวิจัย เลขที่13-15
            เลขที่ 13 งานวิจัยเรื่อง การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย(กัญญนันทน์ กิตติ์ชนะภิรมน์) เป็นการสอนแบบหนังสือภาพ การสร้างภาพ 0-9 การรู้ค่าของตัวเลข  การเตรียมความพร้อมทางคณิตสาสตร์ คือจะไม่ให้เด็กท่องจำ จะให้เด็กได้เรียนรู้ และเด็กจะมีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น
            เลขที่ 14 งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้การละเล่น...เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน การให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ในการที่จะเล่นหรือทำกิจกรรม  ฝึกการรอคอย  การมีไหวพริบ  มีทักษะการฟัง  การนับจำนวน 1-10 การได้ให้เด็กนั้นมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  รู้จักวัฒนธรรมประเพณี
            เลขที่ 15 (ไม่ได้นำเสนองานวิจัย  เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในรายวิชานี้)

    - กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน เกมคือ ครูจะทำแผ่นคล้องคอเด็กเป็นจำนวนต่างๆให้รูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตัวเลข แต้มเต๋า และให้เด็กเดินไปรอบๆวงกลม แล้วครูเป่านกหวีดพร้อมออกคำสั่ง จับคู่ให้ได้จำนวน 10 หรือจำนวน5อยู่ด้วยกันหรือนับเรียงกันจาก 1-10เป็นต้น

    - เกมการศึกษา คืออะไร?  เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย ภาพตัดต่อ เป็นต้น

    - ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้
               เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา  จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก 
               เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผลไม้ เมื่อเรียนหน่วยผลไม้ เป็นต้น
               เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
               เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
               เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
               เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
               เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
               เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
               เกมพื้นฐานการบวก
               เกมการศึกษาที่นำมาจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย ระยะเวลา และความสามารถของเด็ก สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย โดยจัดให้มีเกมที่เล่นเดี่ยวและเล่นเป็นกลุ่ม ควรมีเกมจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็ก และหากเป็นเกมใหม่ ควรมีการสาธิตวิธีเล่น ครูอาจใช้เกมการศึกษาเป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียนหรือจัดไว้ในมุมประสบการณ์ก็ได้


การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน และเกมการศึกษา  เพลง และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       เนื่องจากมาสายเพราะเกิดอาการท้องเสีย (08.45น.) แต่ก็ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ ไม่ค่อยคุยในชั้นเรียนเนื่องจากไม่ค่อยรู้จักใคร ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน

ภาพการสอนคณิตศาสตร์




-ให้เด็กๆนำชื่อมาติดในสิ่งที่เด็กอยากไปเที่ยวมากที่สุด













วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันพุธที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

-สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้  มี 6 ข้อ ดังนี้ 

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
                -  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
                - ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
                -  เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้

สาระที่ 2 การวัด
                -  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
                 -  อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิต ใช้การนึกภาพ ใช้แบบจำลองทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหา

สาระที่ 4 พีชคณิต
                  -  เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                 -  เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
                -  ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
                -  ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

 สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                -  มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล   การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องสาระและมาตรฐานของคณิตศาสตร์ว่าแต่ละสาระและมาตรฐานมีไว้เพื่ออะไร และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย
ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ  คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน






สรุปบทความ

5 เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล: คณิต Kids สนุก

โดย วาโย อัพเดทล่าสุด วันที่ 12 ธ.ค. 2557

          สอนคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องท่องจำ หากเจ้าหนูถนัดและชอบแก้ไขปัญหาคณิตศาสตร์เป็นประจำแล้ว เขาจะมีทักษะการวางแผน วิเคราะห์ปัญหาเป็น และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี อย่างมีเหตุผล 
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล step 1 สำหรับเด็กอนุบาลที่เพิ่งเริ่มรู้จักคณิตศาสตร์ เกมง่ายๆ เช่น เกมจับคู่เหมือน การต่อบล็อกทรงเรขาคณิตเป็นรูปต่างๆ ให้ได้ความสมดุล การโยงเส้นจับคู่จุดเด่นระหว่างแม่สัตว์กับลูกสัตว์ เพื่อให้เห็นภาพรวมของจำนวน หรือความสมเหตุสมผลอย่างแท้จริงก่อน

เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 2 การตั้งโจทย์ เช่น 3 + 5 บนกระดาษสมุด อาจยากไปสำหรับเจ้าหนู แต่ถ้าสร้างให้เห็นรูปธรรม เพื่อให้เด็กมองภาพจำนวนที่เกิดขึ้นจริง เช่น แอปเปิ้ล 5 ผล บวกกับส้ม 4 ผล จะทำให้เด็กเข้าใจการบวกหรือการรวมกันมากขึ้น

เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 3 การแทนค่าเป็นกลุ่มทำให้เด็กเข้าใจและนับเลขได้ง่ายขึ้น เช่น 10 20 30 40....หรือ 5 10 15 20

เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 4 บูรณาการเลขกับการเรียนรู้ในหมวดต่างๆ เช่น วิชาศิลปะ หากลูกต้องการให้สีเข้มขึ้น จะต้องเพิ่มสีไหนบ้าง สัดส่วนแต่ละครั้งต้องเพิ่มกี่หยด โทนสีก็จะเปลี่ยนไป

เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 5 ให้ลูกมีความเข้าใจอย่างแนบเนียนว่า เลขมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของลูกอย่างไรบ้าง เช่น การใช้เงินในแต่ละวัน การจัดตารางสอนมีผลต่อน้ำหนักกระเป๋า และให้ลูกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 





ที่มา นิตยสาร Kids&School

http://schoolzone.momypedia.com/article_interview-81/