. . . ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกของ---> นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร ค่ะ. . .

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

                สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

            จากการได้เรียนในรายวิชานี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้เนื้อหาสาระมากมายที่เกี่ยวกับคณิตศาตร์ ที่ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น แต่ก่อนเคยคิดว่า เเค่ให้เด็กนักจำนวน 1-20 ,ให้เขียนตัวเลข,ให้อ่านตัวเลข,แค่นี้ก็คงเพียงพอกับการเรียนการสอนในคณิตศาสตร์ โดยไม่ต้องสอนอะไรมากมาย แต่ตามที่จริงแล้ว คณิตศาสตร์ก็มีความสำคัญกับและการเรียนรู้ก็อยู่รอบๆตัวเด็ก ซึ้งเป็นการเรียนการสอนที่ง่าย แต่กลับมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป  วิชานี้ทำให้ดิฉันเรียนรู้เพิ่งเติมเช่น การเรียนการสอนตั้งแต่การลงชื่อเด็ก,การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง,การที่ได้นำป้ายชื่อมาติดเพื่อเรียนรู้คณิตศาตร์จากนาฬิกา  เวลา การมาก่อน-หลัง การนับจำนวนเพื่อนในห้อง ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากยิ่งขึ้น และอาจารย์ผู้สอนยังสอดแทรกเทคนิคการสอนต่างๆ  เช่น การร้องเพลง แต่งเพลง นิทาน คำคล้องจอง ฯลฯ การเรียนครั้งนี้ทำให้ได้นำเสนอสื่อการสอน,แผนการสอน  และยังได้คำแนะนำเพื่อไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น และคณิตศาตร์ยังสามารถบูรณาการในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบอื่นอีกมากมาย เช่น การจัดประสบการณ์แบบโครงการ,สตอรี่ไลน์(เดินเรื่อง),STAM,มอนเตอสรี่ฯลฯ ดิฉันจึงขอขอบคุณผู้สอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าคณิตศาตร์มีความสำคัญมากเพียงใดและดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เก็บเกี่ยวในครั้งนี้ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคตอย่างแน่นอน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันพุธที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

          -อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนทั้งภาคเรียนที่2 ดังนี้ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัย จะบูรณาการ
            1.ภาษา,สุขศึกษา,สังคม,ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม,วิทยาศาสตร์,พลศึกษา,ดนตรี ฯลฯ
            2.พัฒนาการทั้ง 4ด้าน คือด้านร่างกาย,ด้านอามรณ์-จิตใจ,ด้านสังคม,ด้านสติปัญญา
            3.บูรณาการกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,กิจกรรมเสริมประสบการณ์,กิจกรรมเสรี,กิจกรรมกลางแจ้ง,กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์,เกมการศึกษา
         -ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมคณิตศาสตร์อย่างไร?(ความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน)
               1.นับจำนวนการจ่ายตังค์ในตลาดร่วมกับผู้ปกครอง
               2.นั่งรถไปเที่ยวให้บวกเลขป้ายทะเบียน/อ่านเลขป้ายทะเบียน
               3.การทำอาหารความยาว-ความสั้นของการเด็ดผัก
               4.การนับชิ้นสิ่งของร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน
               5.การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะรับประทานอาหารโดยให้เด็กหยิบจาน,ช้อน,แก้ว ตามจำนวนคนในบ้าน (ให้หยิบของใช้มาเป็นชุด)
-ทบทวนความรู้เกมการศึกษา
                - เกมการศึกษา คืออะไร?  เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย ภาพตัดต่อ เป็นต้น
                - ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้
               เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา  จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก 
               เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผลไม้ เมื่อเรียนหน่วยผลไม้ เป็นต้น
               เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
               เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
               เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
               เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
               เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
               เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
               เกมพื้นฐานการบวก

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน และเกมการศึกษา  และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย


ประเมินตนเอง
       ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 วันจันทร์ที่ 27 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน
( ชดเชยตารางเรียนของวันพุธ  ที่ เดือนมีนาคม  2558 )
          - อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนด
1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง 
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 วันพุธที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

          -  อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และให้ตัวแทน 1 คน จัดขนมที่อยู่ในกระปุกโดยการแบ่งขนมเป็นกองกองละ 10 ให้ได้ 3 กอง กองที่ 4 จะมีเพียง 2 ชิ้น ดังภาพ
           




            -  ทำอย่างไรให้จับคู่หรือแบ่งกลุ่ม(โดยเด็กส่งขนมไปเรื่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ โดยให้หยิบกับตัวเองโดยใช้ถาดในการหยิบ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ค่ามากกว่า/น้อยกว่า
            -  สอบสอนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ได้รับมอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเพื่อให้เข้าใจในแผนการสอน



การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
                           มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้   อากาศร้อน พื้นที่ในการเรียนการสอนไม่ค่อยอำนวยความสะดวกเท่าไหร่

ประเมินตนเอง
                          ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์   บุคคลการแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
                        ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
                           แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันพุธที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558


เนื้อหาที่เรียน

             -  อาจารย์สอนวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้นักศึกษาร่วมกันปรึกษาหาหัวข้อที่จะเขียนแผน ให้กำหนดเนื้อหาที่จะเรียนตามที่สนใจ

1.หน่วยปลา






2.หน่วยส้ม





3.หน่วยสตอเบอรี่





4.หน่วยผีเสื้อ



การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                          เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
                           มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้   อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย

ประเมินตนเอง
                          ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์  ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน บุคคลการแต่งกายเรียบร้อย(แต่ไม่ได้ใส่ถุงเท้าเนื่องจากฝนตกหนัก ถุงเท้าเปียก)

ประเมินเพื่อน
                        ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
                           แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน


วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันพุธที่ 25 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

- กิจกรรมต่อไม้คณิตศาสตร์
                         อุปกรณ์          1.ไม้       2.ดินน้ำมัน
                                                     
                                                     1. ต่อไม้ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อม




                                                      2. ต่อไม้ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อม




                                                                            3. ต่อไม้กับดินน้ำมันให้เป็นรูปอะไรก็ได้




                                                                        4. ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม



                                                               5. ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม




                                                                 6. ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรง....ชิงช้าสวรรค์




เก็บตก    เลขที่...........นำเสนอ............
 - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 2 นำเสนอคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 25 นำเสนอโทรทัศน์สร้างพื้นฐาน
                   เลขที่ 26 นำเสนอการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน

-นำเสนองานรูปแบบการสอน

 กลุ่มที่ 2 รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
วิธีการจัดการเรียนการสอน
              เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู 
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์


กลุ่มที่ 3 รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
            การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถึงเหตุการณ์ที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
               1. วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
               2. กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
                3. กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                4. จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
                5. กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด





กลุ่มที่ 4 รูปแบบการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
             1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
                4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
               5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
                6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง 





กลุ่มที่ 4 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
                 STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
              - Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
                   -Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
                    -Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
                   -Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์ 
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย




การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ  คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน








วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันพุธที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

- นำเสนอวิจัย เลขที่ 22-24
เลขที่ 22 ไม่ได้นำเสนอ
เลขที่ 23 ไม่ได้นำเสนอ
เลขที่ 24 รูปแบบกิจกรรมศิลปะสรรค์สร้าง การรู้จักค่าจำนวน  บอกตำแหน่ง  การจำแนก  การนับปากเปล่า  การรู้ค่าและจำนวนที่แตกต่างกัน

-นำเสนอบทความ เลขที่ 1-3
เลขที่ 1 นำเสนอเรื่อง 5 เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล: คณิต Kids สนุก
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล step 1 
สำหรับเด็กอนุบาลที่เพิ่งเริ่มรู้จักคณิตศาสตร์ เกมง่ายๆ เช่น เกมจับคู่เหมือน การต่อบล็อกทรงเรขาคณิตเป็นรูปต่างๆ ให้ได้ความสมดุล การโยงเส้นจับคู่จุดเด่นระหว่างแม่สัตว์กับลูกสัตว์ เพื่อให้เห็นภาพรวมของจำนวน หรือความสมเหตุสมผลอย่างแท้จริงก่อน
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 2 

การตั้งโจทย์ เช่น 3 + 5 บนกระดาษสมุด อาจยากไปสำหรับเจ้าหนู แต่ถ้าสร้างให้เห็นรูปธรรม เพื่อให้เด็กมองภาพจำนวนที่เกิดขึ้นจริง เช่น แอปเปิ้ล 5 ผล บวกกับส้ม 4 ผล จะทำให้เด็กเข้าใจการบวกหรือการรวมกันมากขึ้น
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 3 

การแทนค่าเป็นกลุ่มทำให้เด็กเข้าใจและนับเลขได้ง่ายขึ้น เช่น 10 20 30 40....หรือ 5 10 15 20
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 4 

บูรณาการเลขกับการเรียนรู้ในหมวดต่างๆ เช่น วิชาศิลปะ หากลูกต้องการให้สีเข้มขึ้น จะต้องเพิ่มสีไหนบ้าง สัดส่วนแต่ละครั้งต้องเพิ่มกี่หยด โทนสีก็จะเปลี่ยนไป
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 5 

ให้ลูกมีความเข้าใจอย่างแนบเนียนว่า เลขมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของลูกอย่างไรบ้าง เช่น การใช้เงินในแต่ละวัน การจัดตารางสอนมีผลต่อน้ำหนักกระเป๋า และให้ลูกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 

เลขที่ 2 ไม่ได้นำเสนอ

เลขที่ 3 วิธีเสริมการเรียนเลข ความรู้คณิตศาสตร์ให้ลูกอนุบาล
กลยุทธ์ 1 เรียนรู้จำนวนจากสิ่งของ: การเรียนรู้จากประสาทสัมผัสด้านต่างๆ เด็กจะสามารถนับได้ แต่ไม่รู้ค่าที่แท้จริงของตัวเลข
กลยุทธ์ 2 สังเกตสร้างทักษะ สิ่งของรอบตัวเด็กๆ สามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องของคณิตศาสตร์ได้ ประยุกต์ใช้เพื่อสั่งสมการเรียนรู้ เรื่องเรขาคณิตให้ลูกเพิ่มเติม
กลยุทธ์ 3 เรียงภาพสร้างสรรค์ พื้นฐานของวัยนี้จะสามารถเรียงสิ่งของได้ 3 ชุด เด็กๆ จะต้องสังเกตให้ได้ว่า มันมีตัวซ้ำกันอยู่ ดังนั้นการทำภาพต้องมีการเรียงแบบซ้ำๆ กัน 3 ชุดขึ้นไป จากนั้นจึงฝึกให้เขาบอกว่าการเรียงภาพของชุดที่ 4 คืออะไรนะ ถ้าเด็กสามารถรู้ในเรื่องนี้ได้ เค้าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้มากมาย
กลยุทธ์ 4 สั้น-ยาว หนูรู้ได้ การวัดความสั้น-ยาวของสิ่งของนั้น คุณพ่อคุณแม่ลองมองหาของใช้ภายในบ้านให้เขาได้เปรียบเทียบความยาวสิว่า อันไหนยาวกว่ากัน อันไหนยาวที่สุด อันไหนสั้นที่สุด


การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์  ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันพุธที่ 11 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

-รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
-นำเสนอรูปแบบการสอนแบบโครงการ

          การเรียนรู้แบบ “Project Approach”
                        Project Approach คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่น รับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย
จุดมุ่งหมายของการสอนแบบโครงการ
                  1.พัฒนากระบวนการเรียนรู้
                  2.พัฒนาความคิดและให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติได้
                  3.สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
                  4.เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะโครงสร้างของโครงการ
                    โครงการมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
                   -สังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก และร่วมกันกำหนดหัวข้อโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
                   -กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบ/ตรวจสอบ สมมุติฐาน
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
                   -รวบรวมความรู้เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ
กระบวนการของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
                    1. การอภิปรายกลุ่ม
                    2. การทำงานภาคสนาม
                    3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
                    4. การสืบค้น
                    5. การจัดแสดง
                    กระบวนการดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ
สาระสำคัญของการสอนแบบโครงการ
                 - เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็ก
                 - ประเด็นที่ศึกษาเกิดจากข้อสงสัย/ปัญหาของเด็ก
                - เด็กศึกษาจนพบคำตอบที่ต้องการ
                - เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษา
                - ระยะเวลาเพียงพอตามความสนใจของเด็ก
               -  กิจกรรมหลักในการสอนแบบโครงการ เช่น สำรวจ  ประดิษฐ์  เล่นบทบาทสมมติ
               - โอกาสในการเรียนรู้(เรียนรู้ทักษะ)

-นำเสนอบทความ เลขที่ 19-21
เลขที่ 19 ไม่ได้นำเสนอ
เลขที่ 20 นางสาว ปาริฉัตร ภู่เงิน นำเสนอเรื่อง สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
สอนตัวเลข /สอนขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก/หมวดหมู่ /สอนรูปทรงต่างๆ /สอนเรื่องตำแหน่ง ซ้าย-ขวา /สอนเรื่องเวลา  
 สอนเรื่องกลางวัน-กลางคืน /สอนเรื่องวัน-เดือน-ปี /สอนเรื่องการเพิ่ม-ลด / สอนการใช้เงิน 
เลขที่ 21 ไม่ได้นำเสนอ

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน และเกมการศึกษา  เพลง และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
           ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน


ภาพการสอนคณิตศาตร์



ภาพที่ 1 เป็นการสอนโยให้นำชื่อมาติด ผลไม้ที่ตัวเองชื่นชอบ และนำจำนวน เพื่อฝึกการรับผิดชอบและใช้ในการแบ่งกลุ่ม



ภาพที่ 2 เป็นการฝึกเด็กในการนับจำนวนหรือแก้โจทย์ปัญหาแบบง่ายๆ





ภาพที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล

เพลงที่ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์

เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้มนำ้ สี่ ใบ              ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ               ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้มน้ำเจ็ดใบ            หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ                ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลงบวก-ลบ (แต่งเอง)
บ้านฉันมี ถ้วยชาม ห้า ใบ              ลุงให้อีก สามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ               ดูซิเธอรวมกันได้ แปดใบ
บ้านฉันมีถ้วยชามห้าใบ            หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาถ้วยแล้วไม่เจอ                ดูซิเออเหลือเพียงแค่สองใบ

เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมี  4  ขา             ม้ามี  4  ขา
คนเรานั้นหนา              สองขาต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซำ้)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน (แต่งเอง)
หมูมี  4  ขา             หมามี  4  ขา
คนเรานั้นหนา              สองขาต่างกัน
หมูหมามี  สี่ขาเท่ากัน (ซำ้)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)