. . . ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกของ---> นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร ค่ะ. . .

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันพุธที่ 11 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

-รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
-นำเสนอรูปแบบการสอนแบบโครงการ

          การเรียนรู้แบบ “Project Approach”
                        Project Approach คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่น รับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย
จุดมุ่งหมายของการสอนแบบโครงการ
                  1.พัฒนากระบวนการเรียนรู้
                  2.พัฒนาความคิดและให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติได้
                  3.สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
                  4.เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะโครงสร้างของโครงการ
                    โครงการมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
                   -สังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก และร่วมกันกำหนดหัวข้อโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
                   -กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบ/ตรวจสอบ สมมุติฐาน
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
                   -รวบรวมความรู้เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ
กระบวนการของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
                    1. การอภิปรายกลุ่ม
                    2. การทำงานภาคสนาม
                    3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
                    4. การสืบค้น
                    5. การจัดแสดง
                    กระบวนการดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ
สาระสำคัญของการสอนแบบโครงการ
                 - เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็ก
                 - ประเด็นที่ศึกษาเกิดจากข้อสงสัย/ปัญหาของเด็ก
                - เด็กศึกษาจนพบคำตอบที่ต้องการ
                - เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษา
                - ระยะเวลาเพียงพอตามความสนใจของเด็ก
               -  กิจกรรมหลักในการสอนแบบโครงการ เช่น สำรวจ  ประดิษฐ์  เล่นบทบาทสมมติ
               - โอกาสในการเรียนรู้(เรียนรู้ทักษะ)

-นำเสนอบทความ เลขที่ 19-21
เลขที่ 19 ไม่ได้นำเสนอ
เลขที่ 20 นางสาว ปาริฉัตร ภู่เงิน นำเสนอเรื่อง สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
สอนตัวเลข /สอนขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก/หมวดหมู่ /สอนรูปทรงต่างๆ /สอนเรื่องตำแหน่ง ซ้าย-ขวา /สอนเรื่องเวลา  
 สอนเรื่องกลางวัน-กลางคืน /สอนเรื่องวัน-เดือน-ปี /สอนเรื่องการเพิ่ม-ลด / สอนการใช้เงิน 
เลขที่ 21 ไม่ได้นำเสนอ

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน และเกมการศึกษา  เพลง และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
           ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน


ภาพการสอนคณิตศาตร์



ภาพที่ 1 เป็นการสอนโยให้นำชื่อมาติด ผลไม้ที่ตัวเองชื่นชอบ และนำจำนวน เพื่อฝึกการรับผิดชอบและใช้ในการแบ่งกลุ่ม



ภาพที่ 2 เป็นการฝึกเด็กในการนับจำนวนหรือแก้โจทย์ปัญหาแบบง่ายๆ





ภาพที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล

เพลงที่ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์

เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้มนำ้ สี่ ใบ              ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ               ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้มน้ำเจ็ดใบ            หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ                ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลงบวก-ลบ (แต่งเอง)
บ้านฉันมี ถ้วยชาม ห้า ใบ              ลุงให้อีก สามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ               ดูซิเธอรวมกันได้ แปดใบ
บ้านฉันมีถ้วยชามห้าใบ            หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาถ้วยแล้วไม่เจอ                ดูซิเออเหลือเพียงแค่สองใบ

เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมี  4  ขา             ม้ามี  4  ขา
คนเรานั้นหนา              สองขาต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซำ้)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน (แต่งเอง)
หมูมี  4  ขา             หมามี  4  ขา
คนเรานั้นหนา              สองขาต่างกัน
หมูหมามี  สี่ขาเท่ากัน (ซำ้)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)