. . . ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกของ---> นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร ค่ะ. . .

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย

สรุปวิจัย

เรื่่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ปริญญานิพนธ์
ของ
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2550


บทนำ

             ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ประเทศใดที่คนในชาติ
มีความรู้ ประเทศนั้นย่อม มีความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนา
คนในชาติของตน โดยการให้ความสำคัญต่อการให้การศึกษา แก่คนในชาติเพราะการศึกษาคือการ
พัฒนาให้คนมีความรู้ที่สามารถสร้างตนให้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงขึ้น สร้างชาติให้อยู่อย่าง
มีความสุขและรุ่งเรืองได้ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2542:86)

               ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัยการพัฒนาเด็กต้องครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา คณิตศาสตร์นับเป็น
ความสามารถทางสติปัญญา และเป็นทักษะด้านหนึ่งที่ควรส่งเสริมและจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน ถ้ามองไปรอบๆ ตัวจะ
เห็นว่าชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากมาย เริ่มตั้งแต่เลขที่บ้าน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถ
ปฏิทิน นาฬิกา เวลา การซื้อขาย การคมนาคม และการติดต่อสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับ
คณิตศาสตร์ด้วยทั้งสิ้น (นิตยา ประพฤติกิจ. 2537:241)




ความมุ่งหมายของการวิจัย

            เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัย

             การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของ
ศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่ง
ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัด
ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความ
หลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น



ขอบเขตการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

             ประชากรวิจัย

              ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่ง
กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ
กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน

               กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาล
ละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา
1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น
กลุ่มทดลอง



วิธีดำเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดั้งต่อไปนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86



การเก็บรวบรวมข้อมูล



 การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2
ครั้งคือ
4.1 ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)
ก่อนการทดลอง
4.2 ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ใช้เวลา
ทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
(Posttesrt) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัย



สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการ
จำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน
1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ย
สูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 วันพุธที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558



เนื้อหาที่เรียน
 - วันนี้อาจารย์ได้ให้กระดาษเพื่อเขียนชื่อเล่น พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม แล้วอาจารย์ก็ได้ใช้เทคนิคคำถามในการดึงสู่บทเรียนโดยใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่อง เค้กวันเกิดสามารถนำมาเป็นทักษะทางคณิตศาสตร์ได้อย่าง? โดยในวันนั้นนักศึกษาในชั้นเรียนได้จัดวันเกิดให้เพื่อนโดยมีเพื่อนที่เกิดพร้อมกันจำนวน 2 คน หลังจากนั้นอาจารย์ได้ใช้เทคนิคการใช้คำถามกับนักศึกษาโดยใช้เกณฑ์ตั้งคำถามว่า
         “ใครมาก่อน 08.00 โมง และใครมาหลัง 08.00โมงโดยให้นักศึกษานำกระดาษที่เขียนชื่อไปติดบนกระดาน เป็นกิจกรรมที่สอนเรื่องการนับตัวเลขพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทดสอบก่อนเรียน มี 4 ข้อ ดังนี้
     1.ทฤษฏีเพียเจท์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
     2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
     3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
     4.หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
           เพื่อเป็นการทดสอบความรู้  ความเข้าใจ  ของนักศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  แล้วอาจารย์ก็ได้ให้ออกไปนำเสนอเกี่ยวกับโทรทัศน์ครู เลขที่ 7-9 หัวข้อที่นำเสนอมีดังนี้
         เลขที่ 7 เรื่องของเล่นของใช้
                     ของเล่นและของใช้ คุณครูสุวรรณา ชโลวัฒนะ รร.บ้านเหมืองแร่ โดยคุณครูสุวรรณากล่าวว่าการสอนปฐมวัยโดยยึดหลักกระบวนการให้นักเรียนได้จดจำ และสังเกตุแยกแยะของเล่น ของใช้ที่มีประโยชน์ผ่านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย และการสัมผัส ทำให้นักเรียนเข้าใจและจดจำนำไปใช้ที่บ้านได้ และอีกอย่างทำให้ดิฉันเข้าใจเนื้อหาในการสอนคณิตศาสตร์แบบพื้นฐานโดยเริ่งต้นจากสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก  เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้แก่เด็กมากยิ่งขึ้น
         เลขที่ 8 เรื่องผลไม้แสนสนุก
                       ผลไม้แสนสนุก คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ รร.บ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร)การสอนโดยใช้กิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล แต่คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ รร.บ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) จังหวัดแพร่ ใช้วิธีการที่พาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง ในที่นี้คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้ที่ตลาด โดยจะได้บูรณาการกิจกรรมต่างๆ เข้าไปในการทำกิจกรรมครั้งนี้ ดิฉันจึงได้ไปศึกษาเพิ่มเติมจากโทรทัศน์ครู การจัดกิจกรรมของคุณครูน่ารักมาก พาเด็กไปทัศนศึกษาที่ตลาด ทำให้เด็กเรียนรู้จากการเห็นของจริง ได้สนทนากับแม่ค้า ได้เรียนรู้บรรยากาศ ซึ่งคุณครูส่งเสริมให้เด็กเกิดการเข้าใจอย่างแท้จริง และการนำเรื่องก็น่าสนใจ ทั้งการท่องคำคล้องจองและการสนทนาจากคำคล้องจอง และคุณครูก็ได้มีการให้เด็ก ๆ ตั้งกติกาก่อนไปทัศนศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ กิจกรรมเรื่องผลไม้นี้เป็นกิจกรรมที่สนุก ถ้าคุณครูสอนให้สนุก ถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเด็ก ที่ไม่ต้องเรียนรู้จากรูปภาพ ขอชื่นชมในการทุ่มเทเวลาของคุณครู เพราะว่าดิฉันรู้สึกมีความสนใจเกี่ยวกับหัวข้อนี้เนื่องจากเด็กๆได้ไปในสถานที่จริง  ได้สัมผัสจริง  เรียนรู้จริง ทำให้เด็กนั้นเกิดความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียน  และเป็นที่สนใจแก่เด็ก
         เลขที่ 9 เรื่องการบูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียนรู้
                บูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียนรู้ คุณครูอโนชา ถิรธำรง รร.สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)จากแนวคิดหลักที่ต้องการเตรียมพร้อมเด็กปฐมวัย ให้เกิดการพัฒนาทักษะในทุกด้านแบบองค์รวม ทำให้ทีมคุณครูระดับปฐมวัยของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง คิดสร้างสรรค์หลักสูตรบูรณาการระดับปฐมวัยขึ้นในรูปแบบของโรงเรียนเอง โดยเน้นให้ในทุกชั่วโมงของการเรียนรู้ “หน่วย” ในแต่ละวันครูจะต้องจัดการเรียนการสอนบูรณาการให้ครบทั้ง กิจกรรมทางกาย / คณิตศาสตร์ / ภาษา / วิทยาศาสตร์ / สังคมและการเล่นเสรี ใช้เทคนิคหลักคือการเรียนรู้ผ่านการเล่น และให้เด็กลงมือกระทำจริงเป็นสำคัญ และดิฉันก็ได้ไปศึกษาดูในโทรทัศน์ครูเพิ่มเติมก็ทำให้ดิฉันรับรู้ว่าดีมากเลยค่ะเพราะการสอนเด็กในช่วงปฐมวัยควรให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นค่ะ เด็กจะมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ไม่ต้องเคร่งเครียดกับการเรียนอ่านเขียน เพราะความเครียดจะทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เซลล์สมองก็ไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ การสอนเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กในชั้นที่สูงขึ้นไป เด็กจะมีเจตคติที่ดีกับการมาโรงเรียนและการเรียนหนังสือหรือไม่ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นสำคัญรวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็กด้วย
                หลังจากนั้นอาจารย์ได้นำ เกมทายตัวเลข มาให้นักศึกษาได้ลองทาย เป็นตัวเลขที่ง่ายๆ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาวิชา  แล้วอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเพียเจท์ ทฤษฎีของไวกอตสกี้ และทฤษฏีของบรูเนอร์ และอธิบายหัวข้อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       1.เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การรู้คำศัพท์
       2.เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การบวก การลบ
       3.เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวณการหาคำตอบ
       4.เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
       5.เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจคณิตศาสตร์
       6.เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     1.การสังเกต 
     2.การจำแนกประเภท
     3.การเปรียบเทียบ
     4.การจัดลำดับ
     5.การวัด (การวัดของเด็กจะไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด)
     6.การนับ
     7.รูปทรงและขนาด
  สุดท้ายอาจารย์ได้แนะนำเพลง ให้ร้อง 3 เพลง เป็นเพลงที่สนุก  และเนื้อหาง่ายแก่การจำ 

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากเพิ่มขึ้น  แต่ก่อนเคยมีความคิดแค่ให้เด็กนับเลข แล้วบวก ลบ ตามกระดาษ โดยให้ครูตั้งจำนวนเลข แล้วให้เด็กคิด เพียงให้ใช้นิ้วมือนับ  แต่หากเราใช้เทคนิคการสอนโดยให้เด็กนั้นได้นับตัวเลขโดยใช้สิ่งของรอบตัว  เช่น ผลไม้  ดินสอ กล่องนม ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งของและคณิตศาสตร์ไปในตัว  เด็กจะรู้สึกไม่น่าเบื่อ และสนใจที่จะเรียนรู้ในวิชาคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบ พื้นห้องก็สะอาดไม่มีเศษขยะ วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ  อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
      เนื่องจากเพิ่งเข้าเรียนในคาบเเรก  จึงทำให้เรียนรู้ไม่ทันเพื่อนในห้อง  แต่ก็พยายามจับใจความและตั้งใจฟังในขณะที่อาจารย์กำลังสอน  และร่วมกิจกรรมเมื่อเวลาอาจารย์ให้ทำกิจกรรม   

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  และไม่เข้าใจตรงไหนสามารถถามและให้คำตอบที่ดีแก่เราเสมอ  ช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

     บุคคลิกของอาจารย์คือแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ  พูดจาเสียงดังฟังชัดเจน  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน


ภาพในการสอนคณิตศาสตร์






        


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วันพุธที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558



.....ไม่ได้เข้าเรียน.....
เนื่องจาก....ไปสังเกตการสอนที่โรงเรียนสายน้ำทิพย์

ปฏิบัติการวิชาชีพครู 2 




        

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันพุธที่ 14 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558




.....ไม่ได้เข้าเรียน.....
เนื่องจาก....ไปสังเกตการสอนที่โรงเรียนสายน้ำทิพย์

ปฏิบัติการวิชาชีพครู 2 







    


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 วันพุธที่ 7 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558



วันพุธที่ 7 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558


.....ไม่ได้เข้าเรียน.....
เนื่องจาก....ไปสังเกตการสอนที่โรงเรียนสายน้ำทิพย์

ปฏิบัติการวิชาชีพครู 2