วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

                สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

            จากการได้เรียนในรายวิชานี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้เนื้อหาสาระมากมายที่เกี่ยวกับคณิตศาตร์ ที่ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น แต่ก่อนเคยคิดว่า เเค่ให้เด็กนักจำนวน 1-20 ,ให้เขียนตัวเลข,ให้อ่านตัวเลข,แค่นี้ก็คงเพียงพอกับการเรียนการสอนในคณิตศาสตร์ โดยไม่ต้องสอนอะไรมากมาย แต่ตามที่จริงแล้ว คณิตศาสตร์ก็มีความสำคัญกับและการเรียนรู้ก็อยู่รอบๆตัวเด็ก ซึ้งเป็นการเรียนการสอนที่ง่าย แต่กลับมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป  วิชานี้ทำให้ดิฉันเรียนรู้เพิ่งเติมเช่น การเรียนการสอนตั้งแต่การลงชื่อเด็ก,การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง,การที่ได้นำป้ายชื่อมาติดเพื่อเรียนรู้คณิตศาตร์จากนาฬิกา  เวลา การมาก่อน-หลัง การนับจำนวนเพื่อนในห้อง ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากยิ่งขึ้น และอาจารย์ผู้สอนยังสอดแทรกเทคนิคการสอนต่างๆ  เช่น การร้องเพลง แต่งเพลง นิทาน คำคล้องจอง ฯลฯ การเรียนครั้งนี้ทำให้ได้นำเสนอสื่อการสอน,แผนการสอน  และยังได้คำแนะนำเพื่อไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น และคณิตศาตร์ยังสามารถบูรณาการในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบอื่นอีกมากมาย เช่น การจัดประสบการณ์แบบโครงการ,สตอรี่ไลน์(เดินเรื่อง),STAM,มอนเตอสรี่ฯลฯ ดิฉันจึงขอขอบคุณผู้สอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าคณิตศาตร์มีความสำคัญมากเพียงใดและดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เก็บเกี่ยวในครั้งนี้ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคตอย่างแน่นอน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันพุธที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

          -อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนทั้งภาคเรียนที่2 ดังนี้ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัย จะบูรณาการ
            1.ภาษา,สุขศึกษา,สังคม,ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม,วิทยาศาสตร์,พลศึกษา,ดนตรี ฯลฯ
            2.พัฒนาการทั้ง 4ด้าน คือด้านร่างกาย,ด้านอามรณ์-จิตใจ,ด้านสังคม,ด้านสติปัญญา
            3.บูรณาการกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,กิจกรรมเสริมประสบการณ์,กิจกรรมเสรี,กิจกรรมกลางแจ้ง,กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์,เกมการศึกษา
         -ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมคณิตศาสตร์อย่างไร?(ความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน)
               1.นับจำนวนการจ่ายตังค์ในตลาดร่วมกับผู้ปกครอง
               2.นั่งรถไปเที่ยวให้บวกเลขป้ายทะเบียน/อ่านเลขป้ายทะเบียน
               3.การทำอาหารความยาว-ความสั้นของการเด็ดผัก
               4.การนับชิ้นสิ่งของร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน
               5.การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะรับประทานอาหารโดยให้เด็กหยิบจาน,ช้อน,แก้ว ตามจำนวนคนในบ้าน (ให้หยิบของใช้มาเป็นชุด)
-ทบทวนความรู้เกมการศึกษา
                - เกมการศึกษา คืออะไร?  เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย ภาพตัดต่อ เป็นต้น
                - ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้
               เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา  จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก 
               เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผลไม้ เมื่อเรียนหน่วยผลไม้ เป็นต้น
               เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
               เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
               เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
               เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
               เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
               เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
               เกมพื้นฐานการบวก

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน และเกมการศึกษา  และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย


ประเมินตนเอง
       ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย