วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันพุธที่ 25 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

- กิจกรรมต่อไม้คณิตศาสตร์
                         อุปกรณ์          1.ไม้       2.ดินน้ำมัน
                                                     
                                                     1. ต่อไม้ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อม




                                                      2. ต่อไม้ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อม




                                                                            3. ต่อไม้กับดินน้ำมันให้เป็นรูปอะไรก็ได้




                                                                        4. ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม



                                                               5. ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม




                                                                 6. ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรง....ชิงช้าสวรรค์




เก็บตก    เลขที่...........นำเสนอ............
 - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 2 นำเสนอคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 25 นำเสนอโทรทัศน์สร้างพื้นฐาน
                   เลขที่ 26 นำเสนอการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน

-นำเสนองานรูปแบบการสอน

 กลุ่มที่ 2 รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
วิธีการจัดการเรียนการสอน
              เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู 
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์


กลุ่มที่ 3 รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
            การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถึงเหตุการณ์ที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
               1. วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
               2. กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
                3. กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                4. จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
                5. กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด





กลุ่มที่ 4 รูปแบบการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
             1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
                4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
               5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
                6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง 





กลุ่มที่ 4 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
                 STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
              - Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
                   -Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
                    -Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
                   -Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์ 
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย




การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ  คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน








วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันพุธที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

- นำเสนอวิจัย เลขที่ 22-24
เลขที่ 22 ไม่ได้นำเสนอ
เลขที่ 23 ไม่ได้นำเสนอ
เลขที่ 24 รูปแบบกิจกรรมศิลปะสรรค์สร้าง การรู้จักค่าจำนวน  บอกตำแหน่ง  การจำแนก  การนับปากเปล่า  การรู้ค่าและจำนวนที่แตกต่างกัน

-นำเสนอบทความ เลขที่ 1-3
เลขที่ 1 นำเสนอเรื่อง 5 เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล: คณิต Kids สนุก
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล step 1 
สำหรับเด็กอนุบาลที่เพิ่งเริ่มรู้จักคณิตศาสตร์ เกมง่ายๆ เช่น เกมจับคู่เหมือน การต่อบล็อกทรงเรขาคณิตเป็นรูปต่างๆ ให้ได้ความสมดุล การโยงเส้นจับคู่จุดเด่นระหว่างแม่สัตว์กับลูกสัตว์ เพื่อให้เห็นภาพรวมของจำนวน หรือความสมเหตุสมผลอย่างแท้จริงก่อน
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 2 

การตั้งโจทย์ เช่น 3 + 5 บนกระดาษสมุด อาจยากไปสำหรับเจ้าหนู แต่ถ้าสร้างให้เห็นรูปธรรม เพื่อให้เด็กมองภาพจำนวนที่เกิดขึ้นจริง เช่น แอปเปิ้ล 5 ผล บวกกับส้ม 4 ผล จะทำให้เด็กเข้าใจการบวกหรือการรวมกันมากขึ้น
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 3 

การแทนค่าเป็นกลุ่มทำให้เด็กเข้าใจและนับเลขได้ง่ายขึ้น เช่น 10 20 30 40....หรือ 5 10 15 20
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 4 

บูรณาการเลขกับการเรียนรู้ในหมวดต่างๆ เช่น วิชาศิลปะ หากลูกต้องการให้สีเข้มขึ้น จะต้องเพิ่มสีไหนบ้าง สัดส่วนแต่ละครั้งต้องเพิ่มกี่หยด โทนสีก็จะเปลี่ยนไป
เทคนิคสอนเลขเด็กอนุบาล Step 5 

ให้ลูกมีความเข้าใจอย่างแนบเนียนว่า เลขมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของลูกอย่างไรบ้าง เช่น การใช้เงินในแต่ละวัน การจัดตารางสอนมีผลต่อน้ำหนักกระเป๋า และให้ลูกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 

เลขที่ 2 ไม่ได้นำเสนอ

เลขที่ 3 วิธีเสริมการเรียนเลข ความรู้คณิตศาสตร์ให้ลูกอนุบาล
กลยุทธ์ 1 เรียนรู้จำนวนจากสิ่งของ: การเรียนรู้จากประสาทสัมผัสด้านต่างๆ เด็กจะสามารถนับได้ แต่ไม่รู้ค่าที่แท้จริงของตัวเลข
กลยุทธ์ 2 สังเกตสร้างทักษะ สิ่งของรอบตัวเด็กๆ สามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องของคณิตศาสตร์ได้ ประยุกต์ใช้เพื่อสั่งสมการเรียนรู้ เรื่องเรขาคณิตให้ลูกเพิ่มเติม
กลยุทธ์ 3 เรียงภาพสร้างสรรค์ พื้นฐานของวัยนี้จะสามารถเรียงสิ่งของได้ 3 ชุด เด็กๆ จะต้องสังเกตให้ได้ว่า มันมีตัวซ้ำกันอยู่ ดังนั้นการทำภาพต้องมีการเรียงแบบซ้ำๆ กัน 3 ชุดขึ้นไป จากนั้นจึงฝึกให้เขาบอกว่าการเรียงภาพของชุดที่ 4 คืออะไรนะ ถ้าเด็กสามารถรู้ในเรื่องนี้ได้ เค้าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้มากมาย
กลยุทธ์ 4 สั้น-ยาว หนูรู้ได้ การวัดความสั้น-ยาวของสิ่งของนั้น คุณพ่อคุณแม่ลองมองหาของใช้ภายในบ้านให้เขาได้เปรียบเทียบความยาวสิว่า อันไหนยาวกว่ากัน อันไหนยาวที่สุด อันไหนสั้นที่สุด


การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์  ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันพุธที่ 11 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน

-รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
-นำเสนอรูปแบบการสอนแบบโครงการ

          การเรียนรู้แบบ “Project Approach”
                        Project Approach คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่น รับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย
จุดมุ่งหมายของการสอนแบบโครงการ
                  1.พัฒนากระบวนการเรียนรู้
                  2.พัฒนาความคิดและให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติได้
                  3.สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
                  4.เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะโครงสร้างของโครงการ
                    โครงการมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
                   -สังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก และร่วมกันกำหนดหัวข้อโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
                   -กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบ/ตรวจสอบ สมมุติฐาน
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
                   -รวบรวมความรู้เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ
กระบวนการของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
                    1. การอภิปรายกลุ่ม
                    2. การทำงานภาคสนาม
                    3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
                    4. การสืบค้น
                    5. การจัดแสดง
                    กระบวนการดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ
สาระสำคัญของการสอนแบบโครงการ
                 - เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็ก
                 - ประเด็นที่ศึกษาเกิดจากข้อสงสัย/ปัญหาของเด็ก
                - เด็กศึกษาจนพบคำตอบที่ต้องการ
                - เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษา
                - ระยะเวลาเพียงพอตามความสนใจของเด็ก
               -  กิจกรรมหลักในการสอนแบบโครงการ เช่น สำรวจ  ประดิษฐ์  เล่นบทบาทสมมติ
               - โอกาสในการเรียนรู้(เรียนรู้ทักษะ)

-นำเสนอบทความ เลขที่ 19-21
เลขที่ 19 ไม่ได้นำเสนอ
เลขที่ 20 นางสาว ปาริฉัตร ภู่เงิน นำเสนอเรื่อง สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
สอนตัวเลข /สอนขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก/หมวดหมู่ /สอนรูปทรงต่างๆ /สอนเรื่องตำแหน่ง ซ้าย-ขวา /สอนเรื่องเวลา  
 สอนเรื่องกลางวัน-กลางคืน /สอนเรื่องวัน-เดือน-ปี /สอนเรื่องการเพิ่ม-ลด / สอนการใช้เงิน 
เลขที่ 21 ไม่ได้นำเสนอ

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน และเกมการศึกษา  เพลง และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
           ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน


ภาพการสอนคณิตศาตร์



ภาพที่ 1 เป็นการสอนโยให้นำชื่อมาติด ผลไม้ที่ตัวเองชื่นชอบ และนำจำนวน เพื่อฝึกการรับผิดชอบและใช้ในการแบ่งกลุ่ม



ภาพที่ 2 เป็นการฝึกเด็กในการนับจำนวนหรือแก้โจทย์ปัญหาแบบง่ายๆ





ภาพที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล

เพลงที่ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์

เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้มนำ้ สี่ ใบ              ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ               ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้มน้ำเจ็ดใบ            หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ                ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลงบวก-ลบ (แต่งเอง)
บ้านฉันมี ถ้วยชาม ห้า ใบ              ลุงให้อีก สามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ               ดูซิเธอรวมกันได้ แปดใบ
บ้านฉันมีถ้วยชามห้าใบ            หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาถ้วยแล้วไม่เจอ                ดูซิเออเหลือเพียงแค่สองใบ

เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมี  4  ขา             ม้ามี  4  ขา
คนเรานั้นหนา              สองขาต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซำ้)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน (แต่งเอง)
หมูมี  4  ขา             หมามี  4  ขา
คนเรานั้นหนา              สองขาต่างกัน
หมูหมามี  สี่ขาเท่ากัน (ซำ้)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)